Cursor by nuthinbutnet.net

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทวีปออสเตรเลีย(Australia)

ทวีปออสเตรเลีย 

ลักษณะทั่วไป
           ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่เก่าแก่ที่สุดทวีปหนึ่งของโลก  และเป็นทวีปที่ถูกค้นพบภายหลังทวีปอื่นๆ ทั้งหมด   และเป็นทวีปทีมีขนาดเล็กที่สุดของโลก  ออสเตรเลียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทั้งหมด
ขนาด
           ทวีปออสเตรเลียได้ชื่อว่าเป็นทวีปเกาะ (Island Contiment)  เพราะมีลักษณะเป็นเกาะขนาดใหญ่  (ใหญ่กว่าเกาะกรีนแลนด์ ของทวีปอเมริกาเหนือ) มีเนื้อที่  7.5 ล้านตารางกิโลเมตร  เป็นที่ตั้งของประเทศเพียงประเทศเดียว คือประเทศออสเตรเลีย   ทวีปออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่า โอเซียเนีย  (Oceania)  หรือ   ออสตราเอเซีย  (Australasia)  ซึ่งหมายถึงทวีปออสเตรเลียกับหมู่เกาะต่างๆ ในภาคกลางและภาคใต้ของมหาสมุทร  แปซิฟิก รวมทั้งหมู่เกาะประเทศนิวซีแลนด์ด้วย     

                      
ที่ตั้งและอาณาเขต
           ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ในซีกโลกใต้  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก  มีเนื้อที่ประมาณ  7.6  ล้านตารางกิโลเมตร  มีขอบเขตดังนี้
           ทิศเหนือ    ติดต่อกับทะเลติมอร์  (Timor)  และทะเลอาราฟูรา (Arafura)  ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ แหลมยอร์ก (Cape Yore)  อยู่ที่ตอนปลายสุดของคาบสมุทรเคปยอร์ก (Cape York Peninsula)   มีช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait)  กั้นระหว่างเกาะนิวกินี กับทวีปออสเตรเลีย, อ่าวคาเฟนทาเรีย
           ทิศตะวันออก  ติดกับทะเลคอรัล (Coral)  และทะเลเทสมัน (Tasman)  บริเวณที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของทวีปคือแหลมไบรอน (Cape Byron)
           ทิศใต้   ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  อ่าวเกรดออสเตรเลียไบส์   ส่วนที่อยู่ใต้สุดของออสเตรเลีย คือ  แหลมวิลสัน (Wilson’s Promontory)    มีช่องแคบบาสส์ (Bass Strait)  กั้นระหว่างเกาะแทสเมเนียกับตัวทวีป  
           ทิศตะวันตก    ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  ส่วนที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของทวีปคือ แหลมสตีป (Steep Point) 
                                ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากกว่าทวีปอื่นๆ  ทั้งหมด  จากปลายสุดของคาบสมุทรมาลายู ถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย มีระยะทางเพียง 4,300 กิโลเมตรเท่านั้น
ลักษณะภูมิประเทศ



1. เขตเทือกสูงทางตะวันออก  มีเทือกเขาสูงเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ของทวีป  ขนานกับชายฝั่งตะวันออก  ตั้งแต่ตอนใต้ของคาบสมุทรเคปยอร์กจนถึงช่องแคบบาสส์  เป็นระยะทางยาวประมาณ 3,500 กิโลเมตร  เรียกว่า เทือกเขาเกรต ดิไวดิง (Great Dividing Range)  ตอนที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ เรียกว่า เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลีย (Austrailia Alps)  มียอดสูงสุดคือ ยอดเขาคอสซิอัสโก
2. เขตที่ราบสูงหินเก่าทางตะวันตก (The West Australian Shield)  มีเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของทวีป  ในทางธรณีวิทยาเป็นหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่มาก
3. เขตที่ราบภาคกลาง  (The Central Plain)  ประกอบด้วยที่ราบขนาดใหญ่ 4 แห่ง  อยู่ระหว่างเขตเทือกเขาสูงทางตะวันออก กับ เขตที่ราบหินเก่าทางตะวันตก  ได้แก่
-ที่ราบอ่าวคาร์เปนตาเรีย  
-ที่ราบลุ่มทะเลสาบแอร์
-ที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์-ดาร์ลิง 
-ที่ราบรอบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบท
   ลักษณะภูมิอากาศ
                                จากที่ตั้งและรูปร่างลักษณะของทวีปออสเตรเลีย มีผลต่อลมฟ้าอากาศของทวีปออสเตรเลีย ทั้งหมด  6  ลักษณะ ดังนี้
      1.   เขตภูมิอากาศทุ่งหญ้าเมืองร้อน  (Tropical Savana Climate)  ได้แก่ดินแดนทางตอนเหนือสุดของทวีป  และคาบสมุทรยอร์ก  ในฤดูร้อนจะมีลมมรสุมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้  นำฝนมาตกบ้างเล็กน้อย  แต่ในฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง  พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าเมืองร้อน หรือทุ่งหญ้าสาวานา (Savana)
      2. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย  (Desert Climate)   ได้แก่บริเวณตอนกลางของที่ราบสูงด้านตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย  ป็นเขตที่มีอุณหภูมิสูงและได้รับฝนน้อยมาก   บริเวณนี้มีทะเลทรายสำคัญ คือ  ทะเลทรายเกรตแซนดี (Grean Sandy Desert)  อยุ่ทางตอนเหนือ     ทะเลทรายกิบสัน (Gibson Desert)  ทางด้านตะวันออก    ทะเลทรายซิมป์สัน (Simpson Desert)   ทะเลทรายเกรต วิตอเรีย (Great Victoria Desert)  ทางตอนใต้ของทวีป
      3. เขตภูมือากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น  (Semi-Desert Climate)   เป็นบริเวณที่ราบรอบๆ  ทะเลทรายซึ่งเป็นบริเวณขอบด้านนอกทั้งหมดของเขตที่ราบสูงหินเก่าทางตะวันตก  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศแห้งแล้ง  ฝนตกน้อย  พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า
      4.  เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  (Maditerranean Climate)   ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป  และบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของอ่าวเกรตออสเตรเลียไลท์  บริเวณระหว่างลองติจูดที่ 30 40 องศาใต้  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศอบอุ่น  มีฝนตกในฤดูหนาว  ส่วนฤดูร้อนอากาศร้อน  เป็นเขตปลูกพืชผลไม้ที่สำคัญของออสเตรเลีย
   5.  เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น  (Humid Subtropical Climate)   ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปออสเตรเลีย  เป็นบริเวณที่มีอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง  ฝนตกตลอดปี  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลิเมตร / ปี  ส่วนมากตกในฤดูร้อน  ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น  พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น  ส่วนใหญ่เป็นต้นยูคาลิปตัส 
     6.  เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine West  Coast  Climate)    ได้แก่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป  บริเวณช่องแคบบาสส์  และบริเวณเกาะแทสเมเนีย  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศอบอุ่นในฤดูร้อน  ฤดูหนาวหนาว  มีฝนตกกระจายตลอดปี  เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศเหมือนกับทางด้านตะวันตกของทวีปยุโรป  (แต่ในออสเตรเลียอยู่ทางตะวันออก เพราะทวีปออสเตรเลียตั้งอยู่ในฉีกโลกใต้  ทำให้ลมประจำตะวันตกผัดเข้าสู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของออสเตรเลีย)











วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทวีปแอนตาร์กติกา(Antarctica)

ทวีปแอนตาร์กติกา


แอนตาร์กติกา  เป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร (แต่มีสถานีวิจัยกระจายอยู่ทั่วทวีป) สิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นได้แก่ เพนกวิน แมวน้ำ และสาหร่าย

แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ ("Terra Australis") ย้อนไปถึงยุคโบราณ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับกันว่ามีการพบเห็นทวีปแอนตาร์กติกาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) และลงเหยียบพื้นน้ำแข็งครั้งแรกในปีต่อมา อย่างไรก็ตาม แผนที่ของพลเรือเอกปีรี ไรส์ ที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ได้บรรจุดินแดนนี้ไว้ โดยมีรูปร่างคล้ายคลึงกับชายฝั่งแอนตาร์กติกา





ทวีปแอนตาร์กติกา(transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร จึงยังเป็นบริเวณที่บริสุทธิ์ไม่มีมลภาวะซึ่งเกิดจากมนุษย์ จึงเหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกและความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก ตั้งอยู่บนเส้นละติจูดที่ 60 องศาใต้ ทวีปแอนตาร์กติกามีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกา ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1819 โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิล รอบขั้วโลกใต้ ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก มีชายฝั่งยาว 17 ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาซึ่งหนาเฉลี่ย 2 เรียกว่า พืดน้ำแข็ง ( ,160 เมตรIce sheet,968 กิโลเมตร ) ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืดประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซีฟ มีความสูง 4892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟจำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัส บนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกันและแคนาดาค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน
นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดย เทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก
ลักษณะภูมิอากาศของทวีปแอนตาร์กติกา 
    ทวีปแอนตาร์กติกามีลักษณะภูมิอากาศแบบขั้วโลก คือ มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า  -23 องศาเซลเซียส  ซึ่งอุณหภูมิต่ำสุดที่มนุษย์จะอยู่ได้ คือ -15 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ -89.6 องศาเซลเซียส ที่สถานีวอสต็อกของประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ( ความสูง 3,488 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล )
อากาศที่ทวีปแอนตาร์กติกามีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก ( อากาศแห้งมาก ) มีฝนตกน้อยมาก
 
บางบริเวณมามีฝนตกมานาน 200 ปีแล้ว เรียกว่า หุบเขาแห้งแล้ง บริเวณนี้จะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม จึงเห็นเป็นพื้นดินและหินคล้ายทะเลทราย มีลมแรง เกิดจากการที่เปลือกโลกบริเวณนี้เคลื่อนตัวขึ้นมาเร็วกว่าบริเวณอื่น ทำให้ไม่ทันเป็นพืดน้ำแข็ง
ลมที่ทวีปแอนตาร์กติกามีความเร็วสูงสุดที่วัดได้ถึง 300 กิโลเมตร
/ชั่วโมง บริเวณที่ลมแรงที่สุดคือ อ่าวปาฮามา ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอนตาร์กติกา






วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มารู้จักทวีปต่างๆกันเถอะ

การแบ่งทวีป 



ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีป
การแบ่งทวีปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันอยู่ 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ ทวีปยุโรปกับเอเชียควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปยูเรเชีย (Eurasia) และทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปอเมริกา นักภูมิศาสตร์บางท่าน (ส่วนน้อย) คิดว่าควรรวมยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เป็นทวีปยูราเฟรเชีย (Eurafrasia) (ดู ทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย)
โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาสอนว่ามี 7 ทวีป ขณะที่อเมริกาเหนือสอนว่ามี 6 ทวีป (รวมยุโรปกับเอเชียเป็นยูเรเชีย) ยุโรป อเมริกาใต้ รวมทั้งสหราชอาณาจักรและเม็กซิโก สอนว่ามี 5 ทวีป (รวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา ไม่มีทวีปแอนตาร์กติกา) ในกีฬาโอลิมปิกแยกโลกเป็น 5 ทวีป (ตามสัญลักษณ์ห่วง 5 วง) ตามทวีปที่มีคนอาศัยอยู่ถาวร (ไม่รวมทวีปแอนตาร์กติกาที่มีคนอยู่ชั่วคราว และควบรวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา)
เราอาจรวมทวีปเป็น มหาทวีป (supercontinent) หรือแบ่งย่อยเป็น อนุทวีป (subcontinent) ก็ได้ แต่ก็ไม่มีนิยามที่แน่นอนชัดเจนเช่นกัน
ส่วนเกาะต่าง ๆ โดยปกติจะกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่อยู่ใกล้เกาะนั้นที่สุด ดังนั้นหมู่เกาะบริติช (British Isles) จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป บางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า โอเชียเนีย (Oceania) โดยหมายถึงประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์. บางครั้งก็กำหนดให้ออสเตรเลีย (อาจรวมถึงนิวซีแลนด์) เป็นทวีปทวีปหนึ่ง โดยหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ได้อยู่ในทวีปใด ๆ เลย
ในอังกฤษ คำว่า "the Continent" มักหมายถึงทวีปยุโรป โดยไม่รวมบริเตนใหญ่กับไอร์แลนด์ เช่นเดียวกัน คำว่า "the Subcontinent" มักหมายถึง ประเทศอินเดีย





วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทวีปแอฟริกา(Africa)

ทวีปแอฟริกา

                     
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นที่ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า " ทวีปมืด " หรือ " กาฬทวีป " ทั้งนี้เพราะความล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประกอบกับประชากรส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำ
สมัยก่อน ชาวยุโรปจะให้ความสนใจทวีปเอเชีย เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากร และตลาดการค้า ในปัจจุบัน ความคิดเช่นนั้นเปลี่ยนแปลงไป ชาวยุโรปได้เริ่มเห็นความสำคัญของทวีปแอฟริกา เช่น ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งผลิตแร่ธาตุที่สำคัญ เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา
ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่ไม่ค่อยมีคาบสมุทร และอ่าว พื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 เป็นที่ราบสูง ส่วนพื้นที่ ที่เป็นที่ราบอย่างแท้จริงนั้น มีอยู่น้อย มักจะเป็นที่ราบแคบๆ บริเวณขอบทวีป
จำแนกลักษณะภูมิประเทศเป็น 4 เขต ดังนี้
1. เขตภูเขาโก่งตัวยุคใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่บริเวณเทือกเขา แอตลาสที่ราบสูง หุบเขา และที่ราบชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนบริเวณด้านใต้ของเทือกเขาแอตลาสคือทะเลทรายสะฮารา



เทือกเขาแอตลาส








 


ทะเลทรายซาฮารา









·         ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก เกิดจากเทือกเขาด้านตะวันออก ไหลผ่าน ตอนกลางทวีปเขตศูนย์สูตร ประเทศซาอีร์ คองโก มีเกาะแก่ง และน้ำตกมาก เนื่องจากไหลผ่านที่ราบสูง หลายแห่งออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
·         ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ อยู่ทางตะวันตกของประเทศมาลี ไนเจอร์ ไนจีเรีย ไหลลงสู่อ่าวกินี


  • ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี มีลักษณะเป็นที่ราบแคบๆ อยู่ทางตอนใต้ในประเทศซิมบับเว โมซัมบิก ไหลออกสู่มหาสมุทรอินเดีย


2. เขตที่ราบสูง ภูเขาภาคตะวันออกและภาคใต้
  • เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงทางภาคตะวันออก เป็นเขตที่มีความ สูงมาก เต็มไปด้วยภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและดับแล้ว มียอดเขา คิลิมานจาโร เป็นยอดเขาสูงสุดในทวีป ทางตะวันออกมีแอ่งแผ่นดิน ที่ทรุดต่ำกลายเป็นทะเลสาบอยู่หลายแห่ง เช่นทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นที่ 2 ของโลก เป็นต้น
  • เขตภูเขาและที่ราบสูงภาคใต้ เป็นที่ราบสูงหินแกรนิต อยู่ระหว่าง แม่น้ำวาล และแม่น้ำลิมโปโป เรียกว่า เดอะแรนด์ มีเทือกเขาดราเกนสเบอร์ก เป็นบริเวณสูงสุดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกมีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ
3. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก เป็นที่ราบสูงหินเก่า มีอาณาเขตจาก ทะเลทรายสะฮารา ไปจนถึงอ่าวกินี ภูเขาที่สำคัญคือ ภูเขาอะฮักการ์ และภูเขาทีเบสตี
4.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ระหว่างที่ราบสูงต่างๆ จะมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากที่สูงตอนในของทวีป และไหลลงสู่ทะเลโดยรอบ มีลักษณะเป็น ที่ราบแคบๆ ลุ่มแม่น้ำ และบางตอนเต็มไปด้วยแก่งหินและน้ำตก ทำให้กระแสน้ำ ไหลแรง ไม่มีประโยชน์ด้านการคมนาคม แต่สามารถใช้ประโยชน์ด้านการผลิต กระแสไฟฟ้า
  • ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ทางตอนเหนือของทวีป ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ อียิปต์และซูดาน แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก เกิดจากภูเขาสูงด้านตะวันออกไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ลักษณะภูมิอากาศทวีปแอฟริกา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปแอฟริกา ได้แก่
1. ที่ตั้ง เนื่องจากทวีปแอฟริกามีที่ตั้งอยู่ทั้งในซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้ โดยมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านเกือบกลางทวีป จึงทำให้ดินแดนส่วนใหญ่มีอากาศร้อน ตอนเหนือสุดและตอนใต้สุดของทวีปมีอากาศอบอุ่น
2. ทิศทางลมประจำ เนื่องจากมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านกลางทวีป ทำให้เกือบทั้งทวีปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมสินค้า คือลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ และ ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะพาฝนเข้ามาทางด้านตะวันออกและปะทะกับขอบที่ราบสูง เป็นผลให้บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้มีฝนตกชุก แต่พื้นที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของทวีปเกิดเป็นทะเลทรายกว้างใหญ่
3.ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทำให้พื้นที่บางแห่ง ทางด้านตะวันออกของทวีป มีอากาศไม่ร้อนจัดมากนัก
4.กระแสน้ำ กระแสน้ำที่มีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศของทวีปแอฟริกา ได้แก่
กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อากาศ อบอุ่นชุ่มชื้น
กระแสน้ำเย็นคานารี ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง
กระแสน้ำเย็นเบงเกลา ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง


เ     เขตภูมิอากาศแบบป่าเมืองร้อน หรือป่าดิบชื้น ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งรอบอ่าวกินี ชายฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ มีอากาศร้อน ฝนตกชุก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ



2. เขตร้อนชื้นสลับแล้ง หรือแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน
เ   เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน หรือสะวันนา คือบริเวณตอนเหนือและใต้แนวศูนย์สูตร มีฝนตกชุกในฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า


แหล่งป่าไม้ที่สำคัญอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโกบริเวณชายฝั่งอ่าวกินี ่ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ถ้าเปรียบเทียบกับทวีปอื่นแล้ว แอฟริกาผลิตไม้ได้น้อย
3.เขตทะเลทราย
เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย ตอนเหนือของทวีปได้แก่ทะเลทราย สะฮารา และทะเลทรายลิเบีย ตอนใต้ของทวีปได้แก่ ทะเลทรายนามิบ และคาลาฮารี มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำมาก พืชพรรณธรรมชาติคือตะบองเพชร พืชพรรณธรรมชาติคือตะบองเพชร บริเวณโอเอซีสมีอินทผลัม




4.เขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
พบทางตอนกลางของทวีป และทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร ลักษณะอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในทะเลทราย แต่มีฝนตกน้อยกว่า พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์


5. เขตเมดิเตอร์เรเนียน
ได้แก่ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณริมฝั่งบาบาร์รี ในประเทศแอลจีเรีย และตูนีเซีย และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป แถบเมืองเคปทาวน์ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้  






6.เขตภูมิอากาศแบบชื้นกึ่งร้อนหรืออบอุ่นชื้น
 ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของโมแซมบิก มีลักษณะอากาศอบอุ่นและชื้น ฝนตกในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว อุณหภูมิปานกลาง  






ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในทวีปแอฟริกาได้แก่






ทรัพยากรแร่ธาตุ

แร่ธาตุสำคัญได้แก่ ทองคำ เพชร ทองแดง เหล็ก ยูเรเนียม น้ำมัน ดีบุก ถ่านหิน แมงกานีส มีมากใน 5 ประเทศ คือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ลิเบีย ไนจีเรีย และแซมเบีย