ทวีปยุโรป
ยุโรปเป็นทวีปที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในซีกโลกเหนือ มีชายฝั่งทะเลที่เว้าแหว่งมาก ทำให้ได้รับอิทธิพลทะเลเกือบทั้งหมด จึงเป็นทวีปที่ไม่มีลักษณะแห้งแล้งแบบทะเลทราย ความเหมาะสมของภูมิอากาศประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและความขยันหมั่นเพียรของประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาว ทำให้ยุโรปเป็นทวีปที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้ายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมวัฒนธรรมยุคใหม่
ลักษณะทั่วไป
คำว่า “ยุโรป” เชื่อว่ามาจากภาษาแอสซีเรียนว่า “เอเรบ” (Ereb) หมายถึง ดินแดนแห่งดวงอาทิตย์ตก ซึ่งเป็นภาษาโบราณของชาวเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ยุโรป เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 รองจากทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่มีพื้นแผ่นดินติดต่อเป็นผืนเดียวกับทวีปเอเชีย คล้ายเป็นคาบสมุทรหนึ่งของทวีปเอเชีย จึงมีชื่อเรียกรวมกันว่า ยูเรเชีย (Eruasia)
ยุโรปเป็นทวีปที่อยู่ในซีกโลกเหนือค่อนไปทางขั้วโลกเหนือ ไม่มีดินแดนส่วนใดอยู่ใต้เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาของเปลือกโลกตั้งแต่ยุคหินเก่าแก่ที่สุด ได้แก่ บอลติกชีลด์ (Baltic Shield) เทือกเขาเชอเลน จนถึงหินยุคใหม่ที่สุด คือ เขตเทือกเขาทางตอนใต้ เช่น เทือกเขาพีเรนีส, เทือกเขาแอลป์, เทือกเขาแอปเพนไนน์ในคาบสมุทรอิตาลี, เทือกเขาไดนาริกแอลป์ , เทือกเขาคาร์เปเทียนในคาบสมุทรบอลข่าน
ที่ตั้งและขนาดพื้นที่
ยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือค่อนไปทางขั้วโลกเหนือ ระหว่างประมาณละติจูด 36-71 องศาเหนือ กับลองจิจูด 9 องศาตะวันตก ถึง 66 องศาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร โดยมีประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ รัสเซีย (17,134,678 ตารางกิโลเมตร) และประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ ซานมารีโน (61 ตารางกิโลเมตร) ยกเว้นนครวาติกัน มีพื้นที่ 0.44 ตารางกิโลเมตร)
อาณาเขต
1.ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก และน่านน้ำทางตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลขาว ,ทะเลคารา, ทะเลแบเรนต์ส ซึ่งเป็นเขตที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะในฤดูหนาวมีน้ำแข็งปกคลุมใช้เดินเรือไม่ได้ มีคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย, คาบสมุทรจัตแลนด์, คาบสมุทรโคลา
2.ทิศตะวันออก ติดต่อกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล, แม่น้ำอูราล, ทะเลสาบแคสเปียน แบ่งยุโรปกับเอเชียออกจากกัน
3.ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาคอเคซัส และทะเลดำ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คั่นระหว่างทวีปยุโรปกับแอฟริกา มีคาบสมุทรและช่องแคบที่สำคัญคือ คาบสมุทรไอบีเรีย, คาบสมุทรอิตาลี, คาบสมุทรบอกข่าน, คาบสมุทรไครเมีย, ช่องแคบยิบรอลตา, ช่องแคบบอสฟอรัส, ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ มีเกาะที่สำคัญคือ เกาะชิชิลี, เกาะซาร์ดิเนีย, เกาะคอสตาริกา, เกาะคริตและเกาะไซปรัส
4.ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลที่สำคัญ คือ ทะเลเหนือ ทะเลนอร์วีเจียน, อ่าวบิสเคย์ มีเกาะที่สำคัญ คือ เกาะบริเตนใหญ่, เกาะไอร์แลนด์, เกาะไอซ์แลนด์
คำว่า “ยุโรป” เชื่อว่ามาจากภาษาแอสซีเรียนว่า “เอเรบ” (Ereb) หมายถึง ดินแดนแห่งดวงอาทิตย์ตก ซึ่งเป็นภาษาโบราณของชาวเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ยุโรป เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 รองจากทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่มีพื้นแผ่นดินติดต่อเป็นผืนเดียวกับทวีปเอเชีย คล้ายเป็นคาบสมุทรหนึ่งของทวีปเอเชีย จึงมีชื่อเรียกรวมกันว่า ยูเรเชีย (Eruasia)
ยุโรปเป็นทวีปที่อยู่ในซีกโลกเหนือค่อนไปทางขั้วโลกเหนือ ไม่มีดินแดนส่วนใดอยู่ใต้เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาของเปลือกโลกตั้งแต่ยุคหินเก่าแก่ที่สุด ได้แก่ บอลติกชีลด์ (Baltic Shield) เทือกเขาเชอเลน จนถึงหินยุคใหม่ที่สุด คือ เขตเทือกเขาทางตอนใต้ เช่น เทือกเขาพีเรนีส, เทือกเขาแอลป์, เทือกเขาแอปเพนไนน์ในคาบสมุทรอิตาลี, เทือกเขาไดนาริกแอลป์ , เทือกเขาคาร์เปเทียนในคาบสมุทรบอลข่าน
ที่ตั้งและขนาดพื้นที่
ยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือค่อนไปทางขั้วโลกเหนือ ระหว่างประมาณละติจูด 36-71 องศาเหนือ กับลองจิจูด 9 องศาตะวันตก ถึง 66 องศาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร โดยมีประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ รัสเซีย (17,134,678 ตารางกิโลเมตร) และประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ ซานมารีโน (61 ตารางกิโลเมตร) ยกเว้นนครวาติกัน มีพื้นที่ 0.44 ตารางกิโลเมตร)
อาณาเขต
1.ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก และน่านน้ำทางตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลขาว ,ทะเลคารา, ทะเลแบเรนต์ส ซึ่งเป็นเขตที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะในฤดูหนาวมีน้ำแข็งปกคลุมใช้เดินเรือไม่ได้ มีคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย, คาบสมุทรจัตแลนด์, คาบสมุทรโคลา
2.ทิศตะวันออก ติดต่อกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล, แม่น้ำอูราล, ทะเลสาบแคสเปียน แบ่งยุโรปกับเอเชียออกจากกัน
3.ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาคอเคซัส และทะเลดำ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คั่นระหว่างทวีปยุโรปกับแอฟริกา มีคาบสมุทรและช่องแคบที่สำคัญคือ คาบสมุทรไอบีเรีย, คาบสมุทรอิตาลี, คาบสมุทรบอกข่าน, คาบสมุทรไครเมีย, ช่องแคบยิบรอลตา, ช่องแคบบอสฟอรัส, ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ มีเกาะที่สำคัญคือ เกาะชิชิลี, เกาะซาร์ดิเนีย, เกาะคอสตาริกา, เกาะคริตและเกาะไซปรัส
4.ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลที่สำคัญ คือ ทะเลเหนือ ทะเลนอร์วีเจียน, อ่าวบิสเคย์ มีเกาะที่สำคัญ คือ เกาะบริเตนใหญ่, เกาะไอร์แลนด์, เกาะไอซ์แลนด์
เป็นเขตที่เกิดจากการโก่งตัวของหินเปลือกโลกจนกลายเป็นเทือกเขาสูงขนาดใหญ่ เป็นเขตยังมีแผ่นดินไหว ภูเขาระเบิด ได้แก่
- เทือกเขาพีเรนีส ระหว่างฝรั่งเศสกับสเปน
- เทือกเขาแอลป์ในฝรั่งเศส ผ่านสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย ภาคเหนือของสโลวีเนีย มียอดเขาสูงที่สุด คือ ยอดเขามองต์บลังค์ (Mont Blanc) สูง 4,810 เมตร) อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
- เทือกเขาแอปเพนไนน์ ในคาบสมุทรอิตาลี
- เทือกเขาไดนาริกแอลป์ ในคาบสมุทรบอลข่าน
- เทือกเขาคาร์เปเทียน ในรัฐเช็ก รัฐสโลวัก โปร์แลนด์ โรมาเนีย ฮังการี ยูเครน
- เทือกเขาคอเคซัส ในรัสเซีย มียอดเขาสูงที่สุดในยุโรป ชื่อ ยอดเขาเอลบูรส (5,642 เมตร)
ลักษณะภูมิอากาศ มีปัจจัยที่ควบคุมภูมิอากาศ ดังนี้
1.ที่ตั้ง อยู่ในเขตละติจูดกลางและสูง ทำให้มีอากาศอบอุ่นและบางส่วนอยู่ในเขตหนาว
2.ลักษณะ มีชายฝั่งที่ยาว มีอ่าว มีแหลมและคาบสมุทรมาก ทำให้ได้รับอิทธิพลความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรอย่างทั่วถึง
3.ลักษณะของเทือกเขาวางตัวอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้ไม่ขวางกั้นอิทธิพลจากลมที่พัดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติก
4.กระแสน้ำไหลทางตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์เแลนด์ นอร์เวย์ ทำให้มีอากาศไม่หนาวจัด คือ กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ ซึ่งเป็นกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมที่ไหลผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก
5.ลมประจำปี ที่นำความชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติกมาสู่ยุโรป คือ ลมประจำตะวันตก
เขตอากาศในยุโรป แบ่งออกเป็น 7 เขต คือ
1.เขตอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น (Middle Latitude Desert and Steppe Climate) มีลักษณะอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง
- พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้นๆ เรียกว่า ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) พบทางตอนกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย ตอนเหนือของทะเลดำและทะเลสาลแคสเปียนในประเทศฮังการี โรมาเนีย ยูเครนและตอนใต้ของรัสเซีย โดยเฉพาะยูเครนเป็นเขตที่มีแหล่งดินดี เป็นเขตเพราะปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของยุโรป
2.เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) มีลักษณะอากาศร้อนในฤดูร้อน อากาศอบอุ่นชื้นในฤดูหนาว เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก
- พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ไม้คอร์ก ไม้โอ๊ก และไม้พุ่มมีหนามที่มีใบแหลมเรียวเล็กเปลือกหนา พบในประเทศอิตาลี ภาคใต้ของสเปน-ฝรั่งเศส และคาบสมุทรบอลข่านที่ติดกับชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
3.เขตอากาศอบอุ่นชื้น (Humid Subtropical Climate) มีลักษณะอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อนชื้น ฤดูหนาวมีอากาศหนาวถึงหนาวเย็น
- พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้ผลัดใบและป่าผสม พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ตอนเหนือและตอนกลางของคาบสมุทรบอลข่าน
4.เขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Humid Continental Climate) มีลักษณะอากาศอบอุ่นในฤดูร้อน และอากาศหนาวในฤดูหนาวมีระยะเวลานาน
- พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้ผสม คือ ป่าไม้สนกับป่าไม้ผลัดใบ พบในพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกของรัสเซีย
5.เขตอากาศภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate) มีลักษณะอากาศอบอุ่นชื้นตลอดปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตกและกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ
- พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าผสม พบในประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ตอนเหนือของเยอรมนี
6.เขตอากาศแบบกึ่งขั้วโลก (Subarctic Climate) มีลักษณะอากาศหนาวเย็นตลอดปีเรียกอีกอย่างหนึ่ง อากาศแบบไทก้า (Taiga Climate)
- พืชพรรณธรรมชาติ คือป่าสนล้วนๆ เรียกว่า ป่าไทก้า พบในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย
7.เขตอากาศแบบขั้วโลก (Arctic Climate)หรือ ทุนดรา (Tundra Climate) มีลักษณะอากาศหนาวจัดตลอดปี มีเดือนใดเลยที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 10 องศาเซลเซียส
- พืชพรรณธรรมชาติ เป็นพวกมอสส์ สาหร่าย ตระไคร่น้ำ พบในบริเวณชายฝั่งภาคเหนือของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกของรัสเซีย
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
ประชากร ประชากรของทวีปยุโรปประกอบด้วยหลายเชื้อชาติ หลายภาษา
1. เชื้อชาติ เป็นกลุ่มผิวขาว แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1.1 กลุ่มดอร์ดิก เป็นกลุ่มคนผิวขาวที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป โดยเฉพาะประเทศรอบๆ ทะเลเหนือ มีรูปร่างสูงใหญ่ ผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้า กะโหลกศีรษะยาว
1.2 กลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน เป็นกลุ่มคนผิวขาวที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป มีรูปร่างเล็ก ผิวคล้ำ ผมดำ นัยน์ตาสีฟ้า กะโหลกศีรษะกลม
1.3 กลุ่มแอลไพน์ เป็นกลุ่มคนผิวขาวในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง มีรูปร่างเตี้ย ล่ำ ผมสีน้ำตาล กะโหลกศีรษะกลม
2. ภาษา ภาษาในทวีปยุโรปเป็นตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
2.1 กลุ่มภาษาเยอร์มานิก เป็นภาษาของประชากรในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร บางส่วนของสวิตเซอร์แลนด์และเบลเยียม
2.2 กลุ่มภาษาโรแมนซ์ หรือภาษาละติน เป็นภาษาของประชากรในประเทศอิตาลี สเปน ฝรั่งเศส โปรตุเกส โรมาเนีย
2.3 กลุ่มภาษาสลาวิก เป็นกลุ่มของประชากรในประเทศตอนกลางและตะวันออกของยุโรป คาบสมุทรบอลข่าน ลัตเวีย ลิทัวเนีย เบลารุส มอลโดวา ยูเครน รัสเซีย
3. ศาสนา ชาวยุโรปนับถือศาสนาคริสต์ มี 3 นิกาย
3.1 นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของกลุ่มประชากรผู้ใช้ภาษาโรแมนซ์หรือภาษาละติน ยกเว้นโรมาเนีย ประชากรนับถือนิกายออร์โธดอกซ์ ประชากรกลุ่มภาษาอื่น เช่น ไอร์แลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย เช็ก สโลวัก ฯลฯ
3.2 นิกายโปรเตสแตนต์ เป็นศาสนาของกลุ่มประชากรในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร
3.3 นิกายออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาของประชากรในประเทศคาบสมุทรบอลข่านและยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ บัลแกเรีย มาซิโดเนีย ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย รัสเซีย ยูเครน ฯลฯ
4. การศึกษา ยุโรปเป็นทวีปที่ประชากรมีการศึกษาดีกว่าทุกทวีป มีมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบเมื่อประมาณ 700-800 ปี เช่น มหาวิทยาลัยโบโลนญาในอิตาลี มหาวิทยาลัยปารีสในฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ในอังกฤษ
5. การกระจายและความหนาแน่นของประชากร ยุโรปมีประชากรทั้งหมดประมาณ 728 ล้านคน (พ.ศ. 2541) มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 3 ของโลกรองจากเอเชียและแอฟริกา มีอัตราความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยประมาณ 31.6 คนต่อตารางกิโลเมตร มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากเอเชีย
บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น คือ บริเวณภาคกลางและภาคตะวันตกของทวีป เพราะเป็นเขตอุตสาหกรรม อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธาตุ ได้แก่ ถ่านหินและเหล็ก มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ มีภูมิอากาศเหมะสมแก่การเกษตรกรรม และตอนเหนือของอิตาลี เขตทะเลสาบในสวีเดน ภาคตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย
บริเวณที่มีประชากรเบาบาง คือ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ฟินแลนด์และตอนเหนือสุดของทวีป ภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้ที่เป็นเขตเทือกเขาทวีปยุโรป แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค
1.ยุโรปเหนือ ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน เอสโทเนีย แลตเวียและลิธัวเนีย
2.ยุโรปตะวันตก ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี ลิกเตนสไตน์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร
3.ยุโรปตะวันออก ได้แก่ เบลารุส บัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี มอลโดวา โปแลนด์ โรมาเนีย สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐสโลวัก และ ยูเครน
4.ยุโรปใต้ ได้แก่ แอลเบเนีย อันเดอร์รา บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา โครเอเชีย กรีซ อิตาลี แมซิโดเนีย มอลตา โปรตุเกส ซานมารีโน สโลวีเนีย สเปน และยูโกสลาเวีย
5.ดินแดนที่เป็นรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่นอีก 2 รัฐ คือ นครรัฐวาติกา ตั้งอยู่ในกรุงโรมประเทศอิตาลี และโมนาโก ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในประเทศฝรั่งเศสใกล้พรมแดนอิตาลี)
ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 4 เขต
1. เขตหินเก่าทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย
- เทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ ซึ่งถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะจนสึกกร่อนจนมีความสูงไม่มากนักได้แก่ เทือกเขาเชอเลน ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และเทือกเขาแกรมเพียนในสกอตแลนด์
- ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเว้าแหว่งเป็นอ่าวขนาดเล็กที่มีน้ำลึก เรียกว่า “ฟยอร์ด” (Fjord) บริเวณชายฝั่งของนอร์เวย์และสกอตแลนด์
2.เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง
เป็นที่ราบขนาดใหญ่ที่สุดของโรป ตั้งแต่พื้นที่ทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร ผ่านทางตะวันตกของฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ภาคเหนือของเยอรมนี โปร์แลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซีย
- มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดของยุโรป มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
- มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเซน แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเอลเบ แม่น้ำโอเดอร์และแม่น้ำวิสทูลา
- ทางตอนเหนือบริเวณรอบๆ ฝั่งทะเลบอลติก เป็นเขตที่มีโครงสร้างของหินเปลือกโลกเก่าแก่ที่สุด เรียกว่า บอลติกชีลด์ ในประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และบางส่วนของนอร์เวย์
3. เขตที่ราบสูงภาคกลาง
เกิดจากการสึกกร่อนพังทลายของภูเขาจนกลายเป็นที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบสูงเมเซตา ทางตอนกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย ที่ราบสูงตอนกลางของฝรั่งเศส เรียกว่า มัสซิฟซองตรัล (Massif Central) ที่ราบสูงทางตอนกลางและตอนใต้ของเยอรมนี เรียกว่า แบล็กฟอรเรสต์ (Black Forest) และที่ราบสูงโบฮีเมีย (Bohenia) ระหว่างพรมแดนเยอรมนีกับสาธารณรัฐเช็กกับสาธารณารัฐสโลวัก
4. เขตภูเขาหินใหม่ทางภาคใต้
อาชีพและทรัพยากร
1. การเพาะปลูก เขตเพาะปลูกอยู่ในยุโรปตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ของอังกฤษ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศส ตอนเหนือของเยอรมนี ยูเครน พืชที่สำคัญคือ
- ข้าวสาลี ปลูกได้มากที่สุดคือ ยูเครน รองลงไปคือ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลแกเรีย เยอรมนี ฮังการี
- ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ถั่ว มันฝรั่ง ปลูกได้โดยทั่วไป
- องุ่น ส้ม มะกอก มะนาว แอปเปิลและผลไม้ชนิดต่างๆ ปลูกได้มากเขตอากาศแบบเมดิเตอร์เนียน ได้แก่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน กรีซ
- ต้นแฟล็กซ์ ใช้ใบทำป่านลินิน ปลูกมากในโปแลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์
2. การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
- เขตทุนดรา มีการเลี้ยงกวางเรนเดียร์
- เขตทุ่งหญ้าสเตปป์ มีการเลี้ยงโคเนื้อ แพะ แกะ ม้า
- เขตเมดิเตอร์เรเนียน มีการเลี้ยงโคเนื้อ และแกะ
- เขตภูเขาสูง และที่ราบสูง มีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ
- เขตอบอุ่นชื้นตอนเหนือของคาบสมุทรบอลข่าน มีการเลี้ยงสุกรด้วยข้าวโพด
- เขตภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก มีการทำฟาร์มโคนม
3. การทำป่าไม้ พบมากในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน รัสเซีย นอร์เวย์ ในบริเวณป่าสน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญ ได้แก่
- ทะเลเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก เกิดเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลกเรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ ประเทศที่จับปลาได้มาก สหราชาอาณาจักร ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์
- บริเวณอ่าวบิสเคย์จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะบริเวณทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียนและแม่น้ำโวลกา มีการจับปลาสเตอร์เจียน มาทำเป็นไข่ปลาคาร์วียร์
5. การทำเหมืองแร่ ยุโรปเป็นทวีปที่มีแร่เหล็กและถ่านหินอุดมสมบูรณ์
5.1 ถ่านหิน แหล่งสำคัญอยู่ทางภาคเหนือของสหราชอาณาจักร ภาคกลางของเบลเยียม ลุ่มแม่น้ำรูห์ของเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์ ภาคเหนือของเช็ก สโลวัก ยูเครน ไซบีเรียของรัสเซีย
5.2 เหล็ก แหล่งสำคัญคือ
- แหล่งคิรูนาและเยลีวาร์ทางตอนเหนือของสวีเดน
- แหล่งคริวอยร็อกในยูเครน
- แหล่งลอเรนซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
5.3 น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งสำคัญของยุโรปอยู่ในบริเวณทะเลเหนือ และรอบๆทะเลสาบแคสเปียน
5.4 บอกไซต์ เมื่อนำถลุงแล้วได้อะลูมิเนียม แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย ฮังการี เทือกเขาอูราลในรัสเซีย
5.5โพแทช ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยและสบู่ แหล่งผลิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน รัสเซีย
6. อุตสาหกรรม ยุโรปได้ชื่อว่าเป็นทวีปอุตสาหกรรม เพราะเกือบทุกประเทศประชากร ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ส่วนยุโรปตะวันออกอยู่ใน รัสเซีย ยูเครน เบลารุส
7. การค้าขาย เนื่องจากยุโรปความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปมีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคอื่นและมีการตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น
- สหภาพยุโรป (EU-European Union)
- สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA-European Free Trade Association) ตลาดการค้าขายระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศต่างๆที่อยู่ในยุโรปและประเทศอเมริกาเหนือ
8.การคมนาคมขนส่ง ยุโรปเป็นทวีปที่มีการคมนาคมขนส่งเจริญก้าวหน้ามาก
8.1 ทางรถยนต์ มีทางหลวงเชื่อมระหว่างเมือง เขตอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ มีระยะทางยาวประมาณ 1 ใน 5 ของทางรถยนต์ของโลก
8.2 ทางรถไฟ ทวีปยุโรปมีทางรถไฟยาว 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลก ประเทศที่มีทางรถไฟยาวเมื่อเฉลี่ยต่อเนื้อที่แล้วมากที่สุด คือ เบลเยียม รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ เมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟคือ ปารีส ลอนดอน เบอร์ลิน วอร์ซอ มอสโก
8.3 ทางอากาศ แต่ละประเทศต่างก็มีสายการบินเป็นของตนเอง ใช้ติดต่อระหว่างเมืองภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีป ศูนย์กลางการบินส่วนใหญ่เป็นเมืองหลวงของแต่ละประเทศ
8.4 ทางน้ำ แม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเซน แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโอเดอร์ และมีการขุดคลองเพื่อการคมนาคม เช่น คลองคีล ในเยอรมนี เชื่อมระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ คลองมีดีในฝรั่งเศสเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก
1. การเพาะปลูก เขตเพาะปลูกอยู่ในยุโรปตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ของอังกฤษ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศส ตอนเหนือของเยอรมนี ยูเครน พืชที่สำคัญคือ
- ข้าวสาลี ปลูกได้มากที่สุดคือ ยูเครน รองลงไปคือ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลแกเรีย เยอรมนี ฮังการี
- ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ถั่ว มันฝรั่ง ปลูกได้โดยทั่วไป
- องุ่น ส้ม มะกอก มะนาว แอปเปิลและผลไม้ชนิดต่างๆ ปลูกได้มากเขตอากาศแบบเมดิเตอร์เนียน ได้แก่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน กรีซ
- ต้นแฟล็กซ์ ใช้ใบทำป่านลินิน ปลูกมากในโปแลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์
2. การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
- เขตทุนดรา มีการเลี้ยงกวางเรนเดียร์
- เขตทุ่งหญ้าสเตปป์ มีการเลี้ยงโคเนื้อ แพะ แกะ ม้า
- เขตเมดิเตอร์เรเนียน มีการเลี้ยงโคเนื้อ และแกะ
- เขตภูเขาสูง และที่ราบสูง มีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ
- เขตอบอุ่นชื้นตอนเหนือของคาบสมุทรบอลข่าน มีการเลี้ยงสุกรด้วยข้าวโพด
- เขตภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก มีการทำฟาร์มโคนม
3. การทำป่าไม้ พบมากในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน รัสเซีย นอร์เวย์ ในบริเวณป่าสน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญ ได้แก่
- ทะเลเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก เกิดเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลกเรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ ประเทศที่จับปลาได้มาก สหราชาอาณาจักร ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์
- บริเวณอ่าวบิสเคย์จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะบริเวณทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียนและแม่น้ำโวลกา มีการจับปลาสเตอร์เจียน มาทำเป็นไข่ปลาคาร์วียร์
5. การทำเหมืองแร่ ยุโรปเป็นทวีปที่มีแร่เหล็กและถ่านหินอุดมสมบูรณ์
5.1 ถ่านหิน แหล่งสำคัญอยู่ทางภาคเหนือของสหราชอาณาจักร ภาคกลางของเบลเยียม ลุ่มแม่น้ำรูห์ของเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์ ภาคเหนือของเช็ก สโลวัก ยูเครน ไซบีเรียของรัสเซีย
5.2 เหล็ก แหล่งสำคัญคือ
- แหล่งคิรูนาและเยลีวาร์ทางตอนเหนือของสวีเดน
- แหล่งคริวอยร็อกในยูเครน
- แหล่งลอเรนซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
5.3 น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งสำคัญของยุโรปอยู่ในบริเวณทะเลเหนือ และรอบๆทะเลสาบแคสเปียน
5.4 บอกไซต์ เมื่อนำถลุงแล้วได้อะลูมิเนียม แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย ฮังการี เทือกเขาอูราลในรัสเซีย
5.5โพแทช ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยและสบู่ แหล่งผลิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน รัสเซีย
6. อุตสาหกรรม ยุโรปได้ชื่อว่าเป็นทวีปอุตสาหกรรม เพราะเกือบทุกประเทศประชากร ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ส่วนยุโรปตะวันออกอยู่ใน รัสเซีย ยูเครน เบลารุส
7. การค้าขาย เนื่องจากยุโรปความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปมีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคอื่นและมีการตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น
- สหภาพยุโรป (EU-European Union)
- สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA-European Free Trade Association) ตลาดการค้าขายระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศต่างๆที่อยู่ในยุโรปและประเทศอเมริกาเหนือ
8.การคมนาคมขนส่ง ยุโรปเป็นทวีปที่มีการคมนาคมขนส่งเจริญก้าวหน้ามาก
8.1 ทางรถยนต์ มีทางหลวงเชื่อมระหว่างเมือง เขตอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ มีระยะทางยาวประมาณ 1 ใน 5 ของทางรถยนต์ของโลก
8.2 ทางรถไฟ ทวีปยุโรปมีทางรถไฟยาว 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลก ประเทศที่มีทางรถไฟยาวเมื่อเฉลี่ยต่อเนื้อที่แล้วมากที่สุด คือ เบลเยียม รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ เมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟคือ ปารีส ลอนดอน เบอร์ลิน วอร์ซอ มอสโก
8.3 ทางอากาศ แต่ละประเทศต่างก็มีสายการบินเป็นของตนเอง ใช้ติดต่อระหว่างเมืองภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีป ศูนย์กลางการบินส่วนใหญ่เป็นเมืองหลวงของแต่ละประเทศ
8.4 ทางน้ำ แม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเซน แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโอเดอร์ และมีการขุดคลองเพื่อการคมนาคม เช่น คลองคีล ในเยอรมนี เชื่อมระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ คลองมีดีในฝรั่งเศสเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก
--------------------------------------------------
คำสั่ง จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์
1.จงบอกลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรปมา 2 ข้อ
2.ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคใดของทวีปยุโรป ไม่มีอาณาเขติดต่อกับทะเล
3.ทะเลที่เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรป เอเชียและแอฟริกา
4.จงชื่อประเทศที่อยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ 3 ประเทศ
5.เทือกเขาที่เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติซึ่งกั้นระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป
1.จงบอกลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรปมา 2 ข้อ
2.ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคใดของทวีปยุโรป ไม่มีอาณาเขติดต่อกับทะเล
3.ทะเลที่เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรป เอเชียและแอฟริกา
4.จงชื่อประเทศที่อยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ 3 ประเทศ
5.เทือกเขาที่เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติซึ่งกั้นระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป
----------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย
1. ยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือค่อนไปทางขั้วโลกเหนือ ระหว่างประมาณละติจูด 36-71 องศาเหนือ กับลองจิจูด 9 องศาตะวันตก ถึง 66 องศาตะวันออก
2.ภูมิภาคตะวันออก
3.ทะเลแคสเปียน
4.โครเอเชีย กรีซ อิตาลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น