Cursor by nuthinbutnet.net

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทวีปออสเตรเลีย(Australia)

ทวีปออสเตรเลีย 

ลักษณะทั่วไป
           ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่เก่าแก่ที่สุดทวีปหนึ่งของโลก  และเป็นทวีปที่ถูกค้นพบภายหลังทวีปอื่นๆ ทั้งหมด   และเป็นทวีปทีมีขนาดเล็กที่สุดของโลก  ออสเตรเลียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทั้งหมด
ขนาด
           ทวีปออสเตรเลียได้ชื่อว่าเป็นทวีปเกาะ (Island Contiment)  เพราะมีลักษณะเป็นเกาะขนาดใหญ่  (ใหญ่กว่าเกาะกรีนแลนด์ ของทวีปอเมริกาเหนือ) มีเนื้อที่  7.5 ล้านตารางกิโลเมตร  เป็นที่ตั้งของประเทศเพียงประเทศเดียว คือประเทศออสเตรเลีย   ทวีปออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่า โอเซียเนีย  (Oceania)  หรือ   ออสตราเอเซีย  (Australasia)  ซึ่งหมายถึงทวีปออสเตรเลียกับหมู่เกาะต่างๆ ในภาคกลางและภาคใต้ของมหาสมุทร  แปซิฟิก รวมทั้งหมู่เกาะประเทศนิวซีแลนด์ด้วย     

                      
ที่ตั้งและอาณาเขต
           ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ในซีกโลกใต้  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก  มีเนื้อที่ประมาณ  7.6  ล้านตารางกิโลเมตร  มีขอบเขตดังนี้
           ทิศเหนือ    ติดต่อกับทะเลติมอร์  (Timor)  และทะเลอาราฟูรา (Arafura)  ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ แหลมยอร์ก (Cape Yore)  อยู่ที่ตอนปลายสุดของคาบสมุทรเคปยอร์ก (Cape York Peninsula)   มีช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait)  กั้นระหว่างเกาะนิวกินี กับทวีปออสเตรเลีย, อ่าวคาเฟนทาเรีย
           ทิศตะวันออก  ติดกับทะเลคอรัล (Coral)  และทะเลเทสมัน (Tasman)  บริเวณที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของทวีปคือแหลมไบรอน (Cape Byron)
           ทิศใต้   ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  อ่าวเกรดออสเตรเลียไบส์   ส่วนที่อยู่ใต้สุดของออสเตรเลีย คือ  แหลมวิลสัน (Wilson’s Promontory)    มีช่องแคบบาสส์ (Bass Strait)  กั้นระหว่างเกาะแทสเมเนียกับตัวทวีป  
           ทิศตะวันตก    ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  ส่วนที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของทวีปคือ แหลมสตีป (Steep Point) 
                                ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากกว่าทวีปอื่นๆ  ทั้งหมด  จากปลายสุดของคาบสมุทรมาลายู ถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย มีระยะทางเพียง 4,300 กิโลเมตรเท่านั้น
ลักษณะภูมิประเทศ



1. เขตเทือกสูงทางตะวันออก  มีเทือกเขาสูงเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ของทวีป  ขนานกับชายฝั่งตะวันออก  ตั้งแต่ตอนใต้ของคาบสมุทรเคปยอร์กจนถึงช่องแคบบาสส์  เป็นระยะทางยาวประมาณ 3,500 กิโลเมตร  เรียกว่า เทือกเขาเกรต ดิไวดิง (Great Dividing Range)  ตอนที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ เรียกว่า เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลีย (Austrailia Alps)  มียอดสูงสุดคือ ยอดเขาคอสซิอัสโก
2. เขตที่ราบสูงหินเก่าทางตะวันตก (The West Australian Shield)  มีเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของทวีป  ในทางธรณีวิทยาเป็นหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่มาก
3. เขตที่ราบภาคกลาง  (The Central Plain)  ประกอบด้วยที่ราบขนาดใหญ่ 4 แห่ง  อยู่ระหว่างเขตเทือกเขาสูงทางตะวันออก กับ เขตที่ราบหินเก่าทางตะวันตก  ได้แก่
-ที่ราบอ่าวคาร์เปนตาเรีย  
-ที่ราบลุ่มทะเลสาบแอร์
-ที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์-ดาร์ลิง 
-ที่ราบรอบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบท
   ลักษณะภูมิอากาศ
                                จากที่ตั้งและรูปร่างลักษณะของทวีปออสเตรเลีย มีผลต่อลมฟ้าอากาศของทวีปออสเตรเลีย ทั้งหมด  6  ลักษณะ ดังนี้
      1.   เขตภูมิอากาศทุ่งหญ้าเมืองร้อน  (Tropical Savana Climate)  ได้แก่ดินแดนทางตอนเหนือสุดของทวีป  และคาบสมุทรยอร์ก  ในฤดูร้อนจะมีลมมรสุมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้  นำฝนมาตกบ้างเล็กน้อย  แต่ในฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง  พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าเมืองร้อน หรือทุ่งหญ้าสาวานา (Savana)
      2. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย  (Desert Climate)   ได้แก่บริเวณตอนกลางของที่ราบสูงด้านตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย  ป็นเขตที่มีอุณหภูมิสูงและได้รับฝนน้อยมาก   บริเวณนี้มีทะเลทรายสำคัญ คือ  ทะเลทรายเกรตแซนดี (Grean Sandy Desert)  อยุ่ทางตอนเหนือ     ทะเลทรายกิบสัน (Gibson Desert)  ทางด้านตะวันออก    ทะเลทรายซิมป์สัน (Simpson Desert)   ทะเลทรายเกรต วิตอเรีย (Great Victoria Desert)  ทางตอนใต้ของทวีป
      3. เขตภูมือากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น  (Semi-Desert Climate)   เป็นบริเวณที่ราบรอบๆ  ทะเลทรายซึ่งเป็นบริเวณขอบด้านนอกทั้งหมดของเขตที่ราบสูงหินเก่าทางตะวันตก  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศแห้งแล้ง  ฝนตกน้อย  พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า
      4.  เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  (Maditerranean Climate)   ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป  และบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของอ่าวเกรตออสเตรเลียไลท์  บริเวณระหว่างลองติจูดที่ 30 40 องศาใต้  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศอบอุ่น  มีฝนตกในฤดูหนาว  ส่วนฤดูร้อนอากาศร้อน  เป็นเขตปลูกพืชผลไม้ที่สำคัญของออสเตรเลีย
   5.  เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น  (Humid Subtropical Climate)   ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปออสเตรเลีย  เป็นบริเวณที่มีอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง  ฝนตกตลอดปี  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลิเมตร / ปี  ส่วนมากตกในฤดูร้อน  ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น  พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น  ส่วนใหญ่เป็นต้นยูคาลิปตัส 
     6.  เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine West  Coast  Climate)    ได้แก่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป  บริเวณช่องแคบบาสส์  และบริเวณเกาะแทสเมเนีย  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศอบอุ่นในฤดูร้อน  ฤดูหนาวหนาว  มีฝนตกกระจายตลอดปี  เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศเหมือนกับทางด้านตะวันตกของทวีปยุโรป  (แต่ในออสเตรเลียอยู่ทางตะวันออก เพราะทวีปออสเตรเลียตั้งอยู่ในฉีกโลกใต้  ทำให้ลมประจำตะวันตกผัดเข้าสู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของออสเตรเลีย)











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น